
ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุน Forex ได้รับความนิยมในกลุ่มนักลงทุนกันมากขึ้นในวงกว้าง ถึงแม้ว่าการลงทุนในช่องทางนี้จะมีความเสี่ยงสูง แต่นักลงทุนหลายคนก็เลือกที่จะเสี่ยงเพื่อแลกกับผลกำไรที่ได้รับ วันนี้เราจึงจะมาพูดถึงองค์ประกอบสำคัญที่เป็นตัวกลางในการเทรดค่าเงินซึ่งก็คือ “โบรกเกอร์ Forex” นั่นเอง
โบรกเกอร์ Forex คืออะไร?

โบรกเกอร์ Forex (Forex Broker) คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ลงทุนกับตลาด Forex โดยทำหน้าที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทนส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เนื่องจากการเข้าไปลงทุนกับ Forex นั้น ผู้ลงทุนจำเป็นต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เสียก่อน ดังนั้นการเลือกโบรกเกอร์ที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหน้าที่หลักของโบรกเกอร์ ได้แก่
- ตรวจสอบเอกสารยืนยันตัวตนของผู้ลงทุนและเป็นผู้เปิดบัญชีเทรด
- ให้บริการทำธุรกรรมทางการเงิน ฝาก-ถอน เงินเข้าบัญชีเทรด
- จัดการแพลตฟอร์มสำหรับการเทรด เช่น MT4, MT5 Support
- ติดต่อกับผู้ลงทุนอยู่เสมอเพื่อช่วยแก้ปัญหาการใช้งาน
โบรกเกอร์ Forex มีกี่ประเภท?

เนื่องจากโบรกเกอร์มีหน้าที่เป็นนายหน้าเพื่อเทรด Forex โดยส่งคำสั่งซื้อจากลูกค้าไปยังตลาด โบรกเกอร์ Forex ในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมายแต่ในการเลือกโบรกเกอร์ที่ดีนั้นจำเป็นต้องเลือกโบรกเกอร์ที่ไว้ใจได้และติดต่อได้อยู่เสมอ ทั้งนี้โบรกเกอร์ Forex แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. โบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk (DD)
โบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk หรือ DD ในบางครั้งก็เรียกว่า Market Maker หรือ B Book เป็นโบรกเกอร์ที่เก็บข้อมูลลูกค้าไว้ที่ส่วนกลางหรือ Server ของโบรกเกอร์ก่อนและมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกครั้ง ไม่ได้ส่งออเดอร์เข้าตลาดจริงโดยตรงแล้วจึงนำออเดอร์ที่ตรงกันนำไปจับคู่กัน เช่น
- จับคู่ออเดอร์ของลูกค้าภายในโบรกเกอร์เอง โดยนำออเดอร์ของลูกค้าที่กดคำสั่ง BUY จับคู่กับลูกค้าที่กดคำสั่ง SELL
- หากโบรกเกอร์ไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้าภายในโบรกเกอร์ตนเองได้ ก็จะนำคำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้าไปเทรดตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริงหรือโบรกเกอร์อื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง
- รับออเดอร์จากลูกค้าโดยตรง เนื่องจากตรวจสอบดูแล้วน่าจะเป็นส่วนที่ไม่ทำกำไร โดยโบรกเกอร์รับออเดอร์ส่วนนี้ไว้เอง
ทั้งนี้ตัวอย่างที่ 1 และ 2 โบรกเกอร์จะได้กำไรจากค่าสเปรดส่วนต่าง แต่ในตัวอย่างที่ 3 โบรกเกอร์จะได้รับเงินทั้งหมด
2. โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD)
โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk หรือ NDD ในบางครั้งก็เรียกว่า A Book คือ โบรกเกอร์ที่นำข้อมูลคำสั่งซื้อ-ขายของผู้เทรดเข้าสู่ตลาด Forex โดยตรง ไม่ผ่านตัวกลางหรือ Server หลักของทางโบรกเกอร์ โดยได้รับรายได้จากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือคิดค่าสเปรดเพียงเล็กน้อย แต่อาจจะมีการเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ มากกว่าโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk (DD)
ในส่วนของโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) สามารถแบ่งได้ย่อยอีก 2 ประเภท ประกอบด้วย
1. STP (Straight Through Processing System)
ระบบ STP คือ การประมวลผลโดยตรง โดยโบรกเกอร์ที่ใช้ระบบ STP ในการจับคู่คำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้า มักจะนำคำสั่งซื้อเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง ทำให้ได้ราคาตรงกับราคาตลาดจริงโดยระบบจะจัดเรียงลำดับ Bid กับ Ask ให้กับทางโบรกเกอร์อีกด้วย
2. ECN+STP (Electronic Communication Network + Straight Through Processing)
โบรกเกอร์ที่เป็น ECN+STP คือการใช้ระบบที่ทำให้คำสั่งซื้อ-ขายสามารถจับคู่กับราคาในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการรีโควต เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบที่เมื่อเปิดบัญชีและป้อนคำสั่งเข้าไปแล้วระบบจะไม่เก็บข้อมูลไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนส่งไปยังส่วนกลาง ทำให้ซื้อ-ขายได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนักเทรดที่อยู่ในระดับมืออาชีพแล้ว
ปัจจุบันโบรกเกอร์ Forex ส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบแบบผสมผสานทั้งแบบ DD และ NDD โดยเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับประเภทลูกค้า เช่น หากเป็นลูกค้ารายใหญ่จะส่งเข้าสู่ตลาดโดยตรง ลูกรายย่อยเลือกจับคู่ภายในโบรกเกอร์หรือรับไว้เอง แต่ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนสิ่งสำคัญที่สุดคือโบรกเกอร์ต้องมีความเที่ยงตรง เพื่อให้ทำกำไรบนตลาด Forex ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
โบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือเป็นอย่างไร?
เป็นที่รู้กันดีว่าการลงทุนในตลาด Forex ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่หากใช้บริการโบรกเกอร์ที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงไม่มีใบอนุญาตจากองค์กรที่ควบคุมดูแล เช่น CySec, ASIC, FSP, NFA, CFTC, FSA ซึ่งทำให้การลงทุน Forex มีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงควรตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดของโบรกเกอร์เพื่อป้องกันการใช้บริการโบรกเกอร์เถื่อนหรือโบรกเกอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
องค์ประกอบเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากโบรกเกอร์ที่ได้มาตรฐานจะเป็นส่วนที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันโบรกเกอร์เถื่อนที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีองค์กรควบคุมดูแลก็จะหาผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายไม่ได้เลย เบื้องต้นแนะนำให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ให้ดีเสียก่อน เพราะมีโบรกเกอร์เกิดใหม่อย่างต่อเนื่องมากมาย การตรวสอบความน่าเชื่อืถอของโบรกเกอร์สามารถทำได้ดังนี้
- มีใบอนุญาตและใบรับรองมาตรฐานที่ตรวจสอบได้
- โบรกเกอร์ได้รับรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ
- ทางโบรกเกอร์ได้เป็นผู้สนับสนุนให้กับองค์กรใดบ้าง
- โบรกเกอร์ประเภท NDD ควรแยกระบบการเงินของนักลงทุนรายย่อยแยกกับสถาบันการเงินขนาดใหญ่
มือใหม่เลือกโบรกเกอร์ Forex อย่างไรดี?

นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเลือกโบรกเกอร์เป็นอย่างมาก เพราะแต่ละโบรกเกอร์ต่างก็มีคุณสมบัติเด่นที่แตกต่างกัน นักลงทุนจึงจำเป็นต้องเลือกโบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับทักษะหรือเทคนิคการเทรดของแต่ละคน สำหรับนักลงทุนมือใหม่การเลือกโบรกเกอร์ที่ดีอาจดูเป็นเรื่องยาก จึงต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกโบรกเกอร์ที่ดี ซึ่งทาง Indy Trader ได้รวบรวมเทคนิคง่าย ๆ มาฝากกันดังนี้
1. พิจารณาตามความต้องการของตัวเองศึกษาข้อมูลตลาด Forex
ก่อนที่จะเริ่มทำกำไรในตลาด Forex ผู้ลงทุนต้องถามตัวเองก่อนว่าต้องการทำกำไรแบบไหนหรือต้องการเทรดทำกำไรเล็กน้อยแบบรายวันหรือไม่ การประเมินความต้องการก่อนเลือกโบรกเกอร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากต้องการเทรดแบบระยะสั้นและเป็นช่วงที่มีการแกว่งตัวน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ที่เป็น ECN แต่หากต้องการเทรดช่วงจังหวะที่มีการแกว่งตัวสูงหรือช่วงข่าว จำเป็นต้องมองหาโบรกเกอร์แบบ ECN
ทั้งนี้หากมีเงินลงทุนน้อยกว่า 500 $ เหมาะสำหรับเปิดบัญชีแบบ Micro และหากมีเงินทุนมากกว่า 500 $ ก็สามารถเปิดบัญชีแบบ Standard ได้เลย ด้วยเหตุผลเหล่านี้นักลงทุนจึงต้องทำความรู้จักกับนิสัยการทำกำไรของตนเองเสียก่อน เพื่อเป็นตัวช่วยในการมองหาโบรกเกอร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. อ่านรีวิวของนักเทรดที่มีการขาดทุนในแต่ละโบรกเกอร์
หนึ่งในตัวช่วยในการเลือกโบรกเกอร์คือควรอ่านรีวิวของแต่ละโบรกเกอร์ (ถ้ามี) หรือการพูดคุยเกี่ยวกับตลาด Forex เพราะนักลงทุนหลายคนจะเขียนรีวิวของแต่ละโบรกเพื่อให้เราพิจารณาและระมัดระวังได้มากขึ้น นักลงทุนบางคนจะเขียนถึงเหตุผลที่ขาดทุนและข้อเสียของแต่ละโบรกเพื่อเตือนนักเทรดหน้าใหม่หลาย ๆ คน ซึ่งการอ่านรีวิวของนักลงทุนที่มีประสบการณ์นั้น จะช่วยให้รู้จักข้อดีข้อเสียของแต่ละโบรกเกอร์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละโบรกเกอร์ได้สะดวกเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจอีกด้วย
3. ตรวจสอบข้อเสนอของโบรกเกอร์
หลังจากทราบแล้วว่าต้องการเปิดบัญชีประเภทไหน ควรตรวจสอบด้วยว่าโบรกเกอร์ที่เลือกนั้นรองรับระบบการโอนเงินและถอนเงินในประเทศหรือไม่ การฝากถอนนั้นมีปัญหาบ่อยหรือไม่ เพราะการโอนเงินหรือการถอนเงินนั้นเป็นปัจจัยสำคัญมากที่สุดที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเลือกคือ เลือกโบรกเกอร์ที่มีค่าเสปรดไม่สูงนัก เช่น คู่เงินพื้นฐาน EUR/USD ควรจะมีค่าสเปรดที่ 1 pip (หากไม่ใช่บัญชีแบบ ECN) 2 pip นั้นเป็นค่าที่สูงมากและถ้าเป็นบัญชีแบบ ECN ค่าสเปรดต่ำจะช่วยให้เราประหยัดได้อย่างมาก
เลือกโบรกเกอร์ Forex บริษัทไหนดี?
สำหรับเทรดเดอร์ส่วนมากที่ได้ติดตามเราทาง Indy Trader จะเห็นได้ว่าเราได้แนะนำโบรกเกอร์ที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่รู้จักเป็นจำนวนมากในวงการการเทรด Forex คือ โบรกเกอร์ XM โดยจุดเด่นของโบรกเกอร์ XM มีดังต่อไปนี้
- เป็นโบรกเกอร์ที่ก่อตั้งในปี 2009 ปัจจุบันให้บริการถึง 120 ประเทศทั่วโลก
- เป็นโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือที่มีใบอนุญาตและมีองค์กรกำกับดูแลอย่างถูกต้อง เช่น ASIC License จากออสเตรเลีย FCA License จากอังกฤษ
- เปิดบัญชีเทรดได้สะดวกสบายและรวดเร็ว เช่น XM Ultra
- ทำรายการฝาก-ถอนได้รวดเร็วมีมาตรฐานและปลอดภัย
- เงื่อนไขในการเทรด ฝากและถอนไม่ยุ่งยากมากนัก
- มีบริการช่วยเหลือผ่าน Live Chat ภาษาไทยให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ และ Live Chat ภาษาอังกฤษตลอด 24 ชม.
- มีช่องทางรองรับการบริการของทางธนาคารให้เลือกหลากหลาย
- มีแพล็ตฟอร์มให้เลือกเทรดหลายทางทั้งบน PC และสมาร์ทโฟน
เทรดเดอร์ทุกท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.xm.com หรือ หากสนใจสมัครเป็นสมาชิกลูกค้าของทางโบรกเกอร์สามารถกด Link สมัครได้ที่ :: http://goo.gl/AUX3YD
