
Breakout มีความหมายตรงตัวคือ “การฝ่าวงล้อม” หากพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ Breakout หมายถึงการทะลุแนวรับ-แนวต้าน เมื่อมีการ Breakout เกิดขึ้นอาจจะหมายความว่าราคาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มหรือราคาจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมในเร็วๆนี้
Breakout ที่แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร
การ Breakout ที่แนวรับ-แนวต้าน หมายถึง การ Breakout หรือการทะลุแนวรับ-แนวต้าน เทรดเดอร์บางกลุ่มอาจจะใช้ประโยชน์ของ Breakout ที่แนวรับ-แนวต้าน เป็นสัญญาณในการซื้อขายได้ และที่สำคัญคือการ Breakout ที่แนวรับ-แนวต้านถือว่าสัญญาณการเข้าซื้อที่ดีเยี่ยมเลยก็ว่าได้
ประเภทของการ Breakout ที่แนวรับ-แนวต้าน
1. Breakout ที่แนวรับ-แนวต้านเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม
จากภาพเห็นได้ว่าราคานั้นได้มีการเคลื่อนที่จากแนวโน้มขาลง (Downtrend) มาสักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นราคาก็วิ่งในกรอบ (สีดำ) และมีแนวโน้มเคลื่อนที่ไปด้านข้าง (Sideway) ในระยะนี้ให้คาดการณ์ว่าราคานั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะกลับตัวหรือไปต่อ หลังจากนั้นก็มี Breakout เกิดขึ้นที่แนวต้าน ให้คาดการณ์ว่าราคาได้ทิศทางแล้วว่าจะไปยังทิศทางใด เมื่อราคา Breakout ที่แนวต้าน ให้ทำการเปิดออร์เดอร์ Buy เพราะคาดการณ์ว่าราคามีการเปลี่ยนแนวโน้มจากแนวโน้มขาลงเป็นแนวโน้มเคลื่อนที่ไปด้าน และกำลังทะลุแนวต้านขึ้นไป ให้คาดการณ์ว่าราคานั้นได้มีการกลับตัวไปในทิศทางขาขึ้นแล้ว
2. Breakout ที่แนวรับ-แนวต้านเพื่อแสดงการไปต่อของแนวโน้ม
จากภาพจะเห็นได้ว่า หลังจากที่ราคาเคลื่อนที่เป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend) มาสักระยะเวลาหนึ่งแล้ว จากนั้นราคาก็มีการเคลื่อนที่ไปด้านข้าง (Sideway) แล้วก็มี Breakout ที่แนวรับ แล้วหลังจากนั้นราคาก็ยังคงเป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend) ต่อไป ในช่วงที่ราคาทำการ Breakout ที่แนวรับให้เทรดเดอร์ทำการ Sell เพราะคาดการณ์การว่าราคาที่กำลังพักตัวได้สิ้นสุดแล้ว และราคากำลังได้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม
วิธีการทำกำไรจาก Breakout
การทำกำไรจาก Breakout ที่แนวรับ-แนวต้าน เราจะใช้การ Breakout นี้เป็นสัญญาณในการเข้าซื้อ ถ้าหากราคามีการ Breakout ที่แนวรับ ให้ทำการ Sell แต่ถ้าราคามีการ Breakout ที่แนวต้าน ให้ทำการ Buy
ตัวอย่าง
การ Breakout ในแต่ละครั้งอาจจะไม่สามารถทะลุแนวรับ-แนวต้านได้ทุกครั้ง ในบางครั้งอาจจะเป็นสัญญาณของ Breakout หลอกก็ได้หรือมีอีกชื่อเรียกว่าการ “Breakout ไม่สำเร็จ”
ดังนั้นอย่าเพิ่งปักใจเชื่อ 100% ว่าการ Breakout จะสามารถทะลุแนวรับ-แนวต้านไปได้ทุกครั้งเสมอไป ให้ดูสิ่งอื่นๆประกอบในการตัดสินใจด้วย เช่น ดูจากแรงซื้อแรงขาย ดูจากพฤติกรรมราคา ดูจากอินดิเคเตอร์ต่างๆ เป็นต้น